วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีสากล

       การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี
รูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึง ปัจจุบันนี้
       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจาก เป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดย ตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของ ดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีใน อนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)
1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)
2. สมัยโรมัน (Roman)
3. สมัยกลาง (The Middle Ages)
4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)
5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)
6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)
7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)
8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)
9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)
         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย
         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

ยุคต่างๆของดนตรีสากล
         นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้

         1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
         2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H.   Handen
         3.Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  HaydnGluck   และMozart
         4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
         5.Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
         ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต ( Note )  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด
         วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน




อ้างอิง

เครื่องดนตรีสากลแต่ละประเภท

ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

          เครื่องดนตรี คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้กาเกิดเสียงดนตรีชนิดตางๆ ซึ่งมนษยด้คิดค้นพัฒนาปรับปรุงมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไป เครื่องดนตรีสามารถจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงและลักษณะของเครื่องมือ เป็นประเภทต่างๆได้ ๕ ประ เภท คือ
๑. เครื่องสาย (String Instruments) 
๒. เครื่องลมใม้ (Woodwin Instruments)
     ๒.๑ เครื่องลมไม้ที่ไม่มีลิ้น
     ๒.๒ เครื่องลมไม้ลิ้นเดี่ยว (Single-reed Instruments)
     ๒.๓ เครื่องลมไม้ลิ้นคู่ (Double-reed Instruments)
๓. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
๔. เครื่องตี (Percussion Instruments)
     ๔.๑ เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง (Indefinite Pitch Instruments)
     ๔.๒ เครื่องตีที่มีระดับเสียง (Definite Pitch Instruments)
๕. เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด (Keyboard instruments) 

๑. เครื่องสาย (String Instruments) เครื่องสาย เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของสายด้วยวิธีการดีด การสีสายจะมีขนาดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้ทำสายทำมาจากเส้นเอ็น เส้นไหม ลวดโลหะ โดยนำมาขึงให้ตึงกับตัวเครื่องดนตรี ความดัง เบา ของเครื่องดนตรีขึ้นอยู่กับขนาดรูปร่างเครื่องดนตรี เเละวัสดุที่ใช้ทำลำตัวเครื่องดนตรี เครื่องสายแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ เครื่องสายที่ใช้คันสีและเครื่องสายที่ใช้ดีด



 ๒. เครื่องลมใม้ (Woodwin Instruments)
เครื่องลมไม้ เป็นเครื่องเป่าที่เเต่เดิมทำมาจากไม้ แต่ในปัจจุบันอาจทำด้วยวัสดุอย่างอื่น เช่นโลหะ พลาสติก เกิดเสียงได้โดยการเป่า สามารถแบ่งเป็น ๓ ชนิดใหญ่ๆ คือ
              ๒.๑ เครื่องลมไม้ที่ไม่มีลิ้น
              ๒.๒ เครื่องลมไม้ลิ้นเดี่ยว (Single-reed Instruments)
              ๒.๓ เครื่องลมไม้ลิ้นคู่ (Double-reed Instruments)

๓. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)
          เครื่องลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ทำด้วยโลหะทองเหลือง เกิดเสียงได้โดยการเป่าลมผ่านท่อโลหะที่ขดม้วน และมีลูกสูบสำหรับกดด้วยนิ้วเมื่อกำหนดความสั้น ยาวของท่อโลหะให้เกิดการเปลี่ยนระดับเสียง สำหรับปากเป่าเรียกว่า กำฟวด (Mouthpiece) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปถ้วยหรือระฆัง เครื่องดนตรีประเภทนี้มักเรียกว่า “แตร” เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองที่สำคัญ 


 ๔. เครื่องตี (Percussion Instruments) 
          เครื่องตี หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทที่เกิดเสียงโดยการตี เคาะ เขย่า กระทบกันที่แผ่นหนัง หรือวัสดุที่เป็นของแข็ง เช่น ไม้ โลหะต่างๆ เครื่องตีแบ่งออกเป็น ๒ ปรเภท คือ
           ๔.๑ เครื่องตีที่ไม่มีระดับเสียง (Indefinite Pitch Instruments)
           ๔.๒ เครื่องตีที่มีระดับเสียง (Definite Pitch Instruments)



๕. เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด (Keyboard instruments)
          เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด เครื่องดนตรีประเภทนี้จะมีลิ่มนิ้วสำหรับใช้นิวกด ซึ่งเรียกว่าคีย์ (Key) หลายๆ ตัว โดยทั่วไปจะเป็นลิ่มนิ้วสีขาวและสีดำ คีย์บอร์ดจะมีหลายคีย์หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเครื่องชนิดใด เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดมีทั้งระบบอะคูสติค ซึ่งไม่ใช้ไฟฟ้า ได้แก่ เปียโน ออร์แกนฮาร์ปซิคอร์ด คลาวิคอร์ด เเละระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วงจรไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดเสียงซึ่งปัจจุบันพัฒนามาก โดยคีย์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์สามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีทุกชนิดและเสียงต่างๆ ในธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง






อ้างอิง

ประเภทวงดนตรีสากล

  • ประเภทของวงดนตรีสากล 

    แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่

                1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber  Music) หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย 

    จำนวนผู้บรรเลง      2    คน       เรียกว่า    ดูโอ  (Duo)

    จำนวนผู้บรรเลง      3    คน       เรียกว่า    ตริโอ  (Trio)

    จำนวนผู้บรรเลง      4    คน       เรียกว่า    ควอเตท (Quartet)

    จำนวนผู้บรรเลง      5    คน       เรียกว่า    ควินเตท (Quintet)


    จำนวนผู้บรรเลง      6    คน       เรียกว่า    เซกซ์เตท (Sextet)


    จำนวนผู้บรรเลง      7    คน       เรียกว่า    เซปเตท (Septet)
                             
    จำนวนผู้บรรเลง      8    คน       เรียกว่า    ออกเตท (Octet)


                             
    จำนวนผู้บรรเลง      9    คน       เรียกว่า    โนเนท (Nonet)


              การเรียกชื่อจะต้องบอกชนิดของเครื่องและจำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น
                          
    สตริงควอเตท (String Quartet)  มี   ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน แล ะเชลโล 1 คัน

    สตริงควินเตท (String Quintet)  มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา1คัน เชลโล 1 คันและดับเบิลเบส 1คัน

                          
    วูดวินควินเตท(Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5คนได้แก่ฟลุ๊ต ปี่โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และเฟรนซ์ฮอร์น

           
              แชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน


               2. วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า ( Symphony  Orchestra) วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คนขนาดกลาง 60-80 คนและวงใหญ่  80-110 คนหรือมากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี
    รวมถึงวาทยากร(conductor)ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายของวง Symphony  Orchestra ก็เรียกว่า String Orchestra

               3. วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular  Music) หรือวงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป


               4. วงคอมโบ (Combo  band) หรือสตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน  จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น



               5. วงชาร์โด (Shadow) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ  20 ปีมานี่เองในอเมริกาวงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะThe Beattle หรือสี่เต่าทอง



               6. วงดนตรีแจ๊ส
     เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นหลัก เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือง นิวออร์ลีน ประเทศสหรัฐอเมริกา 
    ลักษณการบรรเลง จะใช้ครื่องดนตรีแต่ละชนิดบรรเลงโต้ตอบกันโดยมีทำนองสั้นๆ Blues Jazz เพลงบลูส์ เป็นเพลงเก่าแก่ของ แจ๊๊ส มาจากเพลงสวดอันโหยหวลของพวกนิโกร เพลงบลูส์มีอายุร่วม100 ปี Swing  แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้  เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกันและเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing  Rock n’ Roll  ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราว พ.ศ. 2493 ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกาผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ  เอลวิส  เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)    


               7. วงโยธวาทิต  (Military  Band) ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม  คือ  เครื่องลมไม้  เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ  ได้แก่เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหารในสมัยสงครามครูเสด


              8. แตรวง  (Brass  Band) คือวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบแตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค  แห่เทียนพรรษา  เป็นต้น

ประเภทวงดนตรีสากล

ตัวอย่างเครื่องดนตรีสากล

ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีสากล

       การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิว...